วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลทั่วไป

                                              ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับน้ำตกสี่ขีด

Image



         ในอดีตผืนป่าบริเวณนี้หนาทึบและมีสัตว์ป่าชุกชุม ชาวบ้านจึงเรียกด้วยชื่อน่าสะพรึงกลัวว่า “ผีขีด” ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สีขีด พื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ซึ่งเป็นเขาหินปูน จึงก่อให้เกิดน้ำตกหินปูนที่สวยงาม และยังมีถ้ำที่น่าพิศวงหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดมีพื้นที่ประมาณ 90,625 ไร่ หรือ 145 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในแนวทิวเขานครศรีธรรมราชที่สูงชันสลับซับซ้อน มีสันปันน้ำเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี

เดิมพื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ ท้องที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม เช่น น้ำตก เกาะแก่ง แอ่งน้ำ โขดหิน และพันธุ์ไม้ตระกูลต่างๆ มากมาย สมควรที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงได้กำหนดพื้นที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสิชล และเพื่อเป็นการสนองนโยบายดังกล่าว อำเภอสิชล จึงรณรงค์จัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าเพื่อชุมชนบริเวณน้ำตกสี่ขีด และเสนอกรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยานต่อไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพภูมิประเทศอันสวยงามและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารสำหรับราษฎรได้ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงน้ำตกได้ถูกราษฎรบุกรุกทำลายป่าเพื่อครอบครองที่ดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ และในเรื่องนี้ นายชำนิ บุญโยภาส อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีด ในป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ เป็นวนอุทยานเมื่อเดือนกันยายน 2529 แต่การดำเนินงานต้องหยุดชะงักลงเพราะปัจจัยข้อกำหนดด้านงบประมาณ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2532 จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการได้

เนื่องจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวางประมาณ 60,625 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามมากมายหลายแห่ง เช่น น้ำตกสี่ขีด น้ำตกสำนักเนียน ถ้ำเขาพับผ้า และถ้ำสวนปราง เป็นต้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงการเกษตรกรรมของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างชุกชุม ประกอบกับพื้นที่นี้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้ถูกราษฎรบุกรุกแผ้วถางทำลายป่าเพื่อจับจอง ที่ดินอย่างกว้างขวางและรุนแรง กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 584/2532 ลงวันที่ 14 เมษายน 2532 ให้ นายสมพล ศิลปธีรธร นักวิชาการป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ ไปปฏิบัติงานประจำทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกสี่ขีด และให้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่มีความเหมาะสม เพื่อประกอบการพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ซึ่งในการสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ป่าใกล้เคียงในเขตท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยครามและป่าวัดประดู่ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48 ก วันที่ 17 มิถุนายน 2542 กำหนดบริเวณที่ดินป่าชัยคราม และป่าวัดประดู่ ในท้องที่ตำบลท่าอุแท ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และป่ายางโพรง และป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลสี่ขีด ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2542

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ต้นกำเนิดของคำว่า ปาล์มน้ำมัน

                                   

          

    ต้นกำเนิดของปาล์ม  (Palm)
    ก่อนที่ Palm จะถูกคิดค้นและสร้างขึ้นมานั้น ในปี 1996 ได้ถือกำเนิดคอมพิวเตอร์มือถือที่มีนามว่า Pilot Connected Organizer ขึ้นมาก่อนและได้มาเป็นต้นแบบของ Palm Computing ในปัจจุบัน โดยบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเกิดของ Palm นั้นคือ Jeff Hawkins โดยการนำทีมของเขาทำให้เกิดคอมพิวเตอร์มือถือในตระกูล Pilot ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น Pilot 1000, Pilot 5000,   PalmPilot Personal, PalmPilot Professional และเป็นPalm III Connected Organizer ในที่สุด เนื่องจากหลักการสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือนั้นอยู่ที่การมีขนาดเล็ก และส่วนที่สำคัญคือการป้อนข้อมูลให้กับเครื่องที่มี ขนาด เล็กนั้น ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องป้อนด้วยการเขียนลงไปที่หน้าจอแสดงผลหรือสร้างส่วนป้อนข้อมูล(keyboard) บนหน้าจอ ที่เรียกว่า onscreen keyboard นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการคิดค้นวิธีการเขียนข้อความและตัวเลขขึ้น และเป็นผลสำเร็จในปี 1994 ด้วย Handwriting recognition (HWR) Technology โดยเรียกโปรแกรมที่ควบคุมการเขียนว่า Graffit
                                 

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสำคัญเเละการจำเเนกประเภทของปาล์มน้ำมัน






  ปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชที่ให้น้ำมัน  2   ชนิด   คือ  น้ำมันปาล์มจากเปลือกผลปาล์ม  ซึ่งมีปริมาณน้ำมันประมาณ 22% ของน้ำหนักทะลาย   น้ำมันปาล์มมีองค์ประกอบทางเคมีเกี่ยวข้องกับวิตามินที่สำคัญอยู่ 2  ชนิด  คือ วิตามินอี และสารแคโรทีนอยด์  ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอ    มีปริมาณสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ
          น้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัว (กรดลอริก,ไม่ริสติก,บัลมิติกและสเตียรริก)รวมกันปริมาณ  52% และมีกรดไขมันอิ่มตัว (โอลิอิก,ลิโนลิอิก  และลิโนลินีอิก) รวมกันประมาณ 48 %  น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่สกัดได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันดิบยังไม่สามารถบริโภคได้ต้องนำไปทำการกลั่นให้เป็นน้ำมันบริสุทธิ์ด้วยกระบวนการแยกยางเหนียว ลดกรด ฟอกสี และดูดกลิ่น ได้เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และมีผลพลอยได้ คือ กรดไขมัน ซึ่งผลผลิตทั้งหมดนี้เรานำไปใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างมากมาย เช่น   ทำเป็นน้ำมันปรุงอาหาร  น้ำมันทอด  ผลิตนมข้น   ไอศกรีม  เนยเทียม  เนยขาว  ใส้ขนมปังกรอบ  เนยโกโก้  ครีมเทียม  คอฟฟีเมท ไขมันทำขนมปัง สบู่ เทียนไข  ผงซักฟอก  ยาสีฟัน  และใช้ในอุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคัลอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญที่สุดในยุคน้ำมันปิโตรเลียมแพง  ก็คือ  ใช้เป็นวัตถุในการผลิตเมทิลเอสเตอร์   นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล   หรือที่เรานิยมเรียกว่า  ไบโอดีเซล นั่นเอง   ซึ่งการผลิตเมทิลเอสเตอร์จะเป็นการนำเอาน้ำมันปาล์มมาทำปฏิกิริยากับเมทานอล  โดยมีโซดาไฟ   เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ เรียกว่าปฏิกิริยาทรานเอสเตอร์ฟิเคชั่นได้เป็นเมทิลเอสเตอร์
และกรีเซอรอลเป็นผลพลอยได้
ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชผสมข้าม มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียแยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน  การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มรุ่นลูกที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม  จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์  ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้น หรือนำมาจากแหล่งผลิตพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือจะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง 15-50% และเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบลดลง 35-55%

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมา

 ปาล์มน้ำมันเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอัฟริกา  เป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด   (640-800  กิโลกรัมน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก  1 ไร่)  และเป็นพืชน้ำมันที่มีการผลิตทั่วโลกเป็นอันดับสอง คือ ประมาณ 25% หรือคิดเป็นปริมาณผลิต 23.355  ล้านตัน   ในปี 2544  รองจากน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 28%โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก (52%)  และอินโดนีเซียเป็นอันดับสอง (3 ปาล์มน้ำมันเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอัฟริกา  เป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด   (640-800  กิโลกรัมน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก  1 ไร่)  และเป็นพืชน้ำมันที่มีการผลิตทั่วโลกเป็นอันดับสอง คือ ประมาณ 25% หรือคิดเป็นปริมาณผลิต 23.355  ล้านตัน   ในปี 2544  รองจากน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 28%โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก (52%)  และอินโดนีเซียเป็นอันดับสอง (32 %)  ส่วนประเทศไทยถึงแม้จะมีอันดับการผลิตอยู่อันดับที่ 4 ของโลก แต่มีสัดส่วนการผลิตเพียง 2% เท่านั้น คือ มีพื้นที่ปลูกถึงปี 2547ประมาณ  2.19  ล้านไร่  และมีผลผลิตปาล์มน้ำมัน 0.68  ล้านตัน  และผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้  775,000  ตัน  โดยใช้ในการอุปโภคทั้งหมด  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและเป็นพืชยืนต้น (perennial crop)  ได้จำแนกปาล์มน้ำมันให้อยู่ในวงศ์ (family)  Palmae หรือ Arecaceae (monocotyledon)  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชผสมข้าม ประเภทที่มีช่อดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน  แต่ช่วงเวลาการออกดอกจะไม่พร้อมกัน  เป็นพืชดิพลอยด์มีจำนวนโครโมโซม 2n =2x=32  และในสกุล (genus) Elaeis  ประกอบด้วยปาล์มน้ำมัน 2 ชนิด (species) ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ชื่อวิทยาศาสตร์  Elaeis guineensis Jacq. ในปัจจุบันเป็นพันธุ์ปลูกเพื่อการค้า  เดิมมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก   คำว่า Elaeis มีความหมายตรงกับคำ elaion ซึ่งแปลว่า น้ำมัน  ส่วนคำว่า guineensis มีความหมายว่า แหล่งรวบรวมอยู่ที่ ประเทศ Guinea  แอฟริกาตะวันตก  ลักษณะของปาล์มน้ำมัน E. guineensis ให้ผลผลิตทะลายสูง มีน้ำหนักผล  เปลือกนอกต่อผลและผลผลิตน้ำมันสูง2 %)  ส่วนประเทศไทยถึงแม้จะมีอันดับการผลิตอยู่อันดับที่ 4 ของโลก แต่มีสัดส่วนการผลิตเพียง 2% เท่านั้น คือ มีพื้นที่ปลูกถึงปี 2547ประมาณ  2.19  ล้านไร่  และมีผลผลิตปาล์มน้ำมัน 0.68  ล้านตัน  และผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้  775,000  ตัน  โดยใช้ในการอุปโภคทั้งหมด  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและเป็นพืชยืนต้น (perennial crop)  ได้จำแนกปาล์มน้ำมันให้อยู่ในวงศ์ (family)  Palmae หรือ Arecaceae (monocotyledon)  ปาล์มน้ำมันเป็นพืชผสมข้าม ประเภทที่มีช่อดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน  แต่ช่วงเวลาการออกดอกจะไม่พร้อมกัน  เป็นพืชดิพลอยด์มีจำนวนโครโมโซม 2n =2x=32  และในสกุล (genus) Elaeis  ประกอบด้วยปาล์มน้ำมัน 2 ชนิด (species) ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ชื่อวิทยาศาสตร์  Elaeis guineensis Jacq. ในปัจจุบันเป็นพันธุ์ปลูกเพื่อการค้า  เดิมมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก   คำว่า Elaeis มีความหมายตรงกับคำ elaion ซึ่งแปลว่า น้ำมัน  ส่วนคำว่า guineensis มีความหมายว่า แหล่งรวบรวมอยู่ที่ ประเทศ Guinea  แอฟริกาตะวันตก  ลักษณะของปาล์มน้ำมัน E. guineensis ให้ผลผลิตทะลายสูง มีน้ำหนักผล  เปลือกนอกต่อผลและผลผลิตน้ำมันสูง

ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน

  ผลปาล์มน้ำมัน เป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร และยาว ๕ เซนติเมตรมีน้ำหนักผลละ ๑๐ - ๑๕ กรัม เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อสุกแก่ ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด ประกอบด้วยกะลาและเนื้อในซึ่งมีต้นอ่อน ฝังอยู่ เมื่อนำไปเพาะให้งอกจะเห็นรากและยอดอ่อนโผล่ออกมาจากช่องของกะลา รากของปาล์ม น้ำมันเป็นระบบรากฝอย แตกออกจากโคนด้าน เพื่อทำหน้าที่ยึดลำต้น ดูดน้ำและแร่ธาตุ ต้นปาล์มที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีรากจำนวนมากประสานกันอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณใต้ผิวดิน๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร  รากมีขนาดใหญ่อาจยาวถึง
๕ เมตร และแตกออกเป็นรากที่สองและที่สามซึ่งมีความยาวและขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

การใส่ปุ๋ย

วิธีการใส่ปุ๋ย         ปีที่ 1 : เมื่อย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มอายุ 10 - 12 เดือน) ใส่ร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ 2 - 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ทุกปี
                หลังจากปลูกแล้วทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ย 21 -11 - 11+ 1.2 Mgo ต้นละ 200 - 300 กรัมและใส่อีกครั้งเมื่อปลูกได้ 6 เดือน ในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุได้ 9 เดือน ในอัตราเดิม
        ปีที่ 2 : เมื่ออายุได้ 18 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 400 - 500 กรัม เมื่ออายุได้ 24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยเดิม คือ 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 0.5 ก.ก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 0.5 กก.       ปีที่ 3 : เมื่ออายุปาล์มได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 800 กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 1 กก.       ปีที่ 4 : เมื่ออายุปาล์มได้ 42 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 1.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อีกอัตราต้นละ 1 กก. (สูตร 0 - 3 - 0) และปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์อัตราต้นละ 1.5 กก. (สูตร 0 - 0 - 60)       ปีที่ 5 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.
       ปีที่ 6 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ครั้งแรกปุ๋ยสูตร 14 - 19 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.
       ปีที่ 7 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.
       ปีที่ 8 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 2 กก.และปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.
       ปีที่ 9 : การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปีส่วนปุ๋ยสูตรอื่น ๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี
          1. ปุ๋ยสูตร 20 - 11 - 11 + 1.2 Mgo เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก
          2. ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี
          3. ปุ๋ยสูตร 0 - 0 - 60 หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี
          4. ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2)
          5. ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุก ๆ 2 ปี ทุก ๆ 3 ปี ก็ได้ ประมาณ 2 กก. / ต้น

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศัตรูพืชที่สำคัญของต้นปาล์ม


              ศัตรูปาล์มน้ำมัน หมายถึง สิ่งที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน
    ชนิดของศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
2. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
3. โรค
สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มฟันแทะ : หากินบนพื้นดินหรือบนต้นไม้
1) หนูพุกใหญ่ = สีขนด้านท้อง และหลังสีเทาเข้ม
2) หนูท้องขาว = พบมากในสวนปาล์มอายุ 6 ปีขึ้นไป จัดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด มีลักษณะหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ตัวยาวเรียว ขนเรียบ ขนท้องสีเทา, น้ำตาลปนเทา
3) เม่น มี 2 ชนิด คือ
- เม่นใหญ่แผงคอยาว เป็นเม่นขนาดใหญ่ หางสั้ัน ขนปกคลุมตัวด้านหน้า สีน้ำตาลดำ ขนด้านหลังเป็นหนามแหลม ขนสีขาวแกมดำ
- เม่นหางพวง หางพวงมีเกล็ดและที่ปลายหางมีขนเป็นพวง
2.กลุ่มสัตว์กินแมลง
1 กระแตธรรมดา เป็นกระแตขนาดใหญ่ มีหางเป็นพวง สีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ และความชื้นสูง สีขนจะเป็นสีแดง สดใส ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำ สีขนจะเป็นสีเทา หรือเทาน้ำตาล ใบหูเล็กหนาคล้ายหูคน
3.กลุ่มสัตว์จำพวกนก
นกสร้างความเสียหายโดยกินลูกปาล์ม ความเสียหายเกิดเฉพาะที่และจะเกิดซ้ำที่ เป็นนกตระกูลนกเอี้ยง และนกขุนทอง
4.กลุ่มสัตว์ป่าอื่น ๆ
หมูป่า